ดราม่า #ดาราcallout ซึ่งเป็นการคอลแลปกันระหว่าง วงการบันเทิง กับ ผู้หลักผู้ใหญ่ของรัฐบาล จุดเริ่มต้นเป็นอย่างไร ขอย้อนเล่าให้ฟังแบบนี้ วันที่ 21 ก.ค. 64 นายสนธิญา สวัสดี ที่ปรึกษากรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร และอดีตผู้สมัครสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ได้เข้าไปยื่นหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อให้ตรวจสอบกลุ่มศิลปินดารา และผู้มีชื่อเสียงกว่า 20 คน ออกมา Call Out เกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายหลายฉบับ ทั้ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ , พ.ร.ก.ฉุกเฉิน , และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
ออกหมายเรียก มิลลิ
มีรายงานว่า หนังสือดังกล่าว มีภาพคนบันเทิงหลายคน หนึ่งในนั้นคือแร็ปเปอร์สาวชื่อดัง มิลลิ ดนุภา คณาธีรกุล ซึ่งต่อมาถูกหมายเรียกหลังจากออกมา Call Out เมื่อแร็ปเปอร์สาวโดนหมายเรียก ส่งผลให้เหตุการณ์ลุกโชนทันที เกิด #SAVEมิลลิ ทะยานติดเทรนด์ทวิตเตอร์ไทย พร้อมเสียงวิจารณ์ถึงการกระทำดังกล่าว เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะประชาชนมีสิทธิ์ออกมาเรียกร้องตามสิทธิขั้นพื้นฐาน
รมว.ดีอีเอส โหมกองเพลิงให้ลุกโชน ขณะเดียวกัน นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ออกมาบอกว่าเตรียมดำเนินคดี มือโพสต์ข้อมูลเท็จ จากสถานการณ์ชุมนุม 18 ก.ค. 64 จำนวน 147 ราย พบมากสุดบนทวิตเตอร์
อย่างไรก็ตาม ประเด็นร้อนแรงมาอยู่ตรงที่ ตอนท้ายซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ ได้เตือนเหล่าศิลปิน ดารา อินฟลูเอนเซอร์ ว่า
“เป็นบุคคลสาธารณะที่ประชาชนรักและศรัทธา ขอความกรุณาอย่าใช้สิ่งเหล่านี้เคลื่อนไหวทางการเมืองโจมตีรัฐบาล เพราะสิ่งที่ทำเป็นการบิดเบือนข้อมูล เป็นการสร้างเฟกนิวส์ขึ้นในระบบโซเชียลมีเดีย ท่านพูดแต่ว่าทุกวันนี้มีคนตายเป็นจำนวนมากเพราะโควิดเนื่องจากวัคซีนไม่ดีเป็นความผิดของรัฐบาล แล้วมันจริงหรือไม่ ขอให้อย่ามองเพียงด้านเดียว ต้องนึกถึงสิ่งที่รัฐบาลได้ทำมาได้จัดหาวัคซีนมาอย่างดีตามมาตรฐาน เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านเราตอนนี้”
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า วาทะของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ คือ เชื้อเพลิงชั้นดีที่ทำให้ไฟแห่งดราม่านี้ ลุกลามหนัก เพราะจากนั้นไม่นาน คนบันเทิง เหล่าคนดัง จำนวนมาก ออกมา Call out ทั่วสารทิศแพลตฟอร์ม ทั้ง ทวิตเตอร์ IG และเฟซบุ๊ก
อาทิ ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่ นักแสดงสาวซึ่งมีจำนวนผู้ติดตามผ่าน อินสตราแกรมของไทย สูงสุดเป็นอันดับ 3 โพสต์ภาพข่าวผ่านไอจี คนนอนเสียชีวิตบนทางเท้า ภาพตัวเลขผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 พร้อมกับเขียนข้อความว่า
“ประชาชนจะต้องอดทนอีกนานแค่ไหน? เราช่วยเหลือกันทุกอย่าง ถึงตอนนี้เราช่วยกันเรียกร้องสิทธิที่เราควรมีและสิ่งที่เราควรได้รับเท่านั้น… อนาคตข้างหน้าจะเป็นยังไง พวกเราต้องสู้กันอีกต่อไปนานแค่ไหน… ประชาชนทุกคนควรจะได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพโดยไม่ต้องเสียเงินเพราะมันคือสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน โปรดจัดสรรอย่างทั่วถึง”
หลังโพสต์นี้ถูกแชร์ออกไป มีผู้คนเข้ามากดไลค์กว่า 5 แสนครั้ง ความคิดเห็นกว่าพันข้อความ มีคนบันเทิงอีกจำนวนมากที่ออกมา Call out หลังคำเตือนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ เช่นเดียวกับ กระแส #ดาราcallout ซึ่งพุ่งขึ้นที่ 1 เทรนด์ทวิตเตอร์ ที่ต่างก็ออกมาวิจารณ์กันถล่มทลาย โดยเฉพาะประเด็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงออก และเสรีภาพทางความคิดของประชาชน
อาจารย์นิติศาสตร์ จุฬาฯ แจงกฏหมาย
วันที่ 22 ก.ค.64 ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อ.คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ชี้แจงในแง่กฏหมายกรณี รมว.ดีอีเอส จะฟ้องดำเนินคดีกับผู้ที่ออกมาวิจารณ์รัฐบาล ระบุ ไม่ว่าจะเป็นดารานักแสดง หรือคนธรรมดา ต่างมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรองและคุ้มครอง
หากบุคคลนั้นมีความคิดความเห็นอย่างไรต่อการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล หรือแม้แต่ รมว. เอง ตราบเท่าที่ไม่ได้ไปด่าทออย่างไม่มีเหตุมีผล ย่อมมีเสรีภาพที่จะทำได้เสมอ รัฐธรรมนูญคุ้มครองเสรีภาพของประชาชนตรงนี้
สอดคล้องกับหลักการในทางกฎหมายอาญาที่รับรองว่า ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดหากเป็นการติชมอย่างสุจริต
อ้างอิงข้อมูลจาก : Matichon, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, davikah
ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอให้ทุกคนช่วยกันคิด ช่วยร่วมมือ ยืนยันว่า นายกรัฐมนตรีจะค่อยๆ ช่วยทำให้ได้ทั้งหมด ทำแบบเนรมิตรไม่ได้ พร้อมถามว่า “ใครว่ายน้ำไม่เป็นบ้าง นายกฯ สอนเด็กๆ มาแล้ว พร้อมทำท่า กางมือ และกล่าวว่า
ลอยเฉยๆ ไม่มีวันจม แล้วรอคนมาช่วย นอนหงายแล้วกางมือ ไม่ตาย ผมทำมาเยอะตั้งแต่เด็กๆ แต่ ถ้าตกน้ำแล้วตะเกียกตะกายก็จะตายตอนนั้น เพราะไม่มีแรงหมดแรงตั้งแต่ต้น ฉะนั้นคนไทยหนึ่งต้องว่ายน้ำเป็น สองต้องออกกำลังกาย สามต้องเรียนสองภาษา โอเคจบไหม แต้งกิ้ว”
แนะนำ : เคล็ดลับต่างๆ | เว็บรวมวิธีต่างๆ How to | จัดอันดับซีรีย์ | รีวิวครีม